แจ้งประชาสัมพันธ์การดำเนินการแข่งขันกิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานทางคณิตศาสตร์ โดยใช้โปรแกรม GSP ม.ต้น ม.ปลาย
- ใช้โปรแกรม GSP5 ภาษาไทยในการแข่งขัน
- ลงทะเบียนเข้าแข่งขันเวลา 08.30 น. เพื่อจับสลากเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ และห้ามใช้เครื่องมือสื่อสารและเอกสารทุกชนิดเข้าห้องแข่งขัน สามารถพกเครื่องเขียนปากกา ดินสอ ยางลบ (ไม่มีกระเป๋าดินสอ ใส่เสื้อคลุมได้ซึ่งต้องได้รับการตรวจสอบ) ของมีค่าขอความร่วมมือให้ฝากครูผู้ฝึกซ้อมไว้
- เวลาในการแข่งขัน 09.00 – 11.30 น. ณ ห้องคอมพิวเตอร์ 328
- เวลา 11.30 น. เป็นต้นไปกักตัวผู้เข้าแข่งขัน ณ ห้อง 327 เพื่อรอการนำเสนอในข้อ 5 (ครูผู้ฝึกซ้อมส่งอาหารน้ำดื่มเวลา 11.00 น. หน้าห้อง 327 เขียนชื่อไว้ให้เรียบร้อย) ไม่อนุญาตให้นักเรียนติดต่อผู้ฝึกสอนจนกว่าการนำเสนอข้อ 5 จะแล้วเสร็จ
- ใช้ข้อสอบกลางจากผู้ทรงคุณวุฒิในการแข่งขัน จำนวน 5 ข้อตามเกณฑ์การแข่งขัน
***มีข้อสงสัยกรุณาติดต่อผู้ประสานงาน ครูกฤษณา 085-7203913
การแข่งขันทักษะด้านคอมพิวเตอร์
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์และสิ่งที่ต้องเตรียม ดังแนบ https://drive.google.com/file/d/1g-vDUUhX1PGM8PHDlu4evv_n7n2A1SaX/view?usp=drive_link
กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ม.ปลาย
- ส่งรายงานโครงงาน 6 เล่ม
- ให้เวลานำเสนอปากเปล่า 7 นาที
- กรรมการตัดสินซักถาม 3-5 นาที
กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ ม.ต้น
- ส่งรายงานโครงงาน 5 เล่ม
- ให้เวลานำเสนอปากเปล่า 7 -10 นาที
- กรรมการตัดสินซักถาม 3-5 นาที
กิจกรรมโครงงานคุณธรรม
ระดับชั้น ม.1-3 ให้ส่งเล่มเอกสารในวันแข่งขัน
กิจกรรมแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองระดับ ม.ปลาย
- เวลา 09.00 น.จับสลากเลือกลำดับที่การนำเสนอโครงงาน แล้วกรรมการเริ่มตรวจเล่มรายงานโครงงาน
- เวลา 10.30 น. เริ่มนำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการ
- ส่งรายงานโครงงาน 7 เล่ม ในวันแข่งขัน
- นำเสนอปากเปล่า 7 นาที ตอบคำถาม 8 นาที
กิจกรรมการแข่งขันซูโดกุ ทั้งระดับ ม.ต้นและ ม.ปลาย
1. ให้ครูผู้ควบคุมนักเรียนแต่ละโรงเรียนส่งข้อสอบ จำนวน 1 ชุด รูปแบบข้อสอบตามเกณฑ์การแข่งขัน 10 รูปแบบ ให้แต่ละโรงเรียนใช้ฟอร์มข้อสอบตามเอกสารที่แนบมานี้
https://docs.google.com/document/d/1huUVjO9kpuyVlvTZSDwCw5-p51BJ7AxA/edit?usp=sharing&ouid=117463018577197302810&rtpof=true&sd=true
2. ให้แต่ละโรงเรียนลงทะเบียน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 09.00 น. และส่งข้อสอบไม่เกิน เวลา 09.00 น. ของวันแข่งขัน
กิจกรรมแข่งขันโครงงานคณิตศาสตร์ ม.1-3 และ ม.4-6
ให้โรงเรียนส่งเล่มโครงงานฉบับสมบูรณ์ในวันที่ 14 พ.ย. 66 ภายในเวลา 12.00 น. ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ อาคาร 3
กิจกรรมภาพยนต์สั้น ระดับชั้น ม.1-3 และ ม.4-6
ถ้าไม่ส่งผลงานภายในวันเวลาที่กำหนด ขอตัดสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน
กิจกรรมการแข่งขันของกลุ่มสาระภาษาไทย
1. พินิจวรรณคดี ม.1 - ม.3 เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน สีดาหาย (ให้ผู้เข้าแข่งขันเตรียมดินสอ 2B เพื่อใช้ในการฝนกระดาษคำตอบ)
2. พินิจวรรณคดี ม.4-ม.6 เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน สร้อยฟ้าศรีมาลาลุยไฟ (ให้ผู้เข้าแข่งเตรียมดินสอ 2B เพื่อใช้ในการฝนกระดาษคำตอบ)
3. คัดลายมือสื่อภาษาไทย ม.1- ม.3, ม.4-ม.6 ให้ผู้เข้าแข่งขัน เตรียมอุปกรณ์มาด้วยตนเอง รายการดังนี้
3.1) ปากกาลูกลื่นสีดำ ขนาด 0.5 มม.
3.2) แผ่นรองที่ใช้ในการคัดลายมือ
3.3) น้ำยาลบคำผิด
4. วรรณกรรมพิจารณ์ ม.1- ม.3, ม.4 - ม.6 เนื้อหาในการแข่งขันได้แก่
4.1) ปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวม 80 คะแนน ประกอบด้วย
1) โวหารภาพพจน์/รสวรรณคดี
2) การใช้วิจารณญาณ - สาระสำคัญ/ประเด็นสำคัญ/แนวคิด/คุณค่า/ข้อคิด (บทอ่านร้อยแก้ว และบทอ่านร้อยกรอง)
3) ระบุใจความสำคัญ
4.2) อัตนัย จำนวน 4 ข้อ ข้อละ 5 คะแนน รวม 20 คะแนน ประกอบด้วย วิเคราะห์วิจารณ์บทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง
หมายเหตุ : ใช้บทร้อยแก้วร้อยกรองร่วมสมัย (ไม่ใช้หนังสือวรรณกรรมซีไรต์)
5. เสนาะสารอ่านทำนองเสนาะ
5.1) เกณฑ์การแข่งขันในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1- ม.3) ฉันทลักษณ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ (จำนวน 4 เรื่อง เรื่องละ 4 บท) ประกอบด้วย
1) โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
2) โคลงโลกนิติ
3) นิราศนรินทร์
4) ลิลิตตะเลงพ่าย
5.2) เกณฑ์การแข่งขันในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - ม.6) ฉันทลักษณ์ประเภทฉันท์ (ทั้งหมด 5 ประเภท) จากวรรณคดีเรื่อง มัทนะพาธา และสามัคคีเภทคำฉันท์เท่านั้น ประกอบด้วย
1) ภุชงคประยาตฉันท์ 12 จำนวน 4 บท
2) สาลินีฉันท์ 11 จำนวน 4 บท
3) วสันตดิลิกฉันท์ 14 จำนวน 4 บท
4) อุเปนทรวิเชียรฉันท์ 11 จำนวน 4 บท
5) สัททุลวิกีฬิตฉันท์ 19 จำนวน 6 บท
5.3) เกณฑ์การให้คะแนน
- ให้ยึดมาตรฐานคะแนนจากหลักเกณฑ์ที่กระทรวงกำหนด
- หากมีคะแนนเท่ากัน ให้พิจารณาความเหมาะสมโดยใช้มติของกรรมการ
5.4) ข้อปฏิบัติในการแข่งขัน
- ผู้เข้าแข่งขันจับสลากด้วยตนเอง จำนวน 1 เรื่อง จากบทที่กำหนดให้ เพื่อแข่งขัน
- แนะนำตัว "บอกเพียงหมายเลขผู้เข้าแข่งขันเท่านั้น" "....เรียนท่านคณะกรรมการ กระผม/ดิฉัน ผู้เข้าประกวดการแข่งขันเสนาะสารอ่านทำนองเสนาะหมายเลข..."
- ไม่มีการใช้เครื่องขยายเสียง
- ใช้ห้องเก็บตัวห้องเดียวกันทั้งชั้น ม.ต้น และ ม.ปลาย
- เมื่อแข่งขันแล้วเสร็จ ไม่อนุญาตให้อยู่เพื่อฟังผู้เข้าแข่งขันท่านอื่น หรือกลับเข้าห้องเก็บตัวอีกครั้ง
- ไม่มีการประกาศผลหลังการแข่งขัน ประกาศผลการแข่งขันผ่านเว็ปไซต์เท่านั้น
กิจกรรมแข่งขันนักบินน้อย(สพฐ) (แก้ไขเพิ่มเติม)
-เปลี่ยนสถานที่แข่งขันเป็นโรงเรียนนางรองพิทยาคม
-ประเภทบินนาน 3 มิติและประเภทบินนาน ปล่อยอิสระ
-ไม่ต้องส่งออกแบบ การวัด การคำนวณ การทดสอบ
กิจกรรมการแข่งขันอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ม.ต้น
- แข่งขันวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566
- สถานที่ อาคาร 2 (หน้าโดมรวมใจรัชดา)
- ลงทะเบียน ณ จุดลงทะเบียน ห้อง 223 เวลา 08.00 น. - 09.15น.
- รายงานตัวเข้าแข่งขัน ห้อง 221 เวลา 09.25 น.
- เริ่มแข่งขันตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์ (ภาคเช้า) ห้อง 221เวลา 09.30 น. (ข้อสอบแบบปรนัย + แข่งขันตอบปัญหาสด)
ภาคบ่าย
การแข่งขันกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ (ผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนลำดับที่ 1-12 ของภาคเช้า)
- รายงานตัวเข้าแข่งขัน ห้อง 214 และ 212 เวลา 12.55 น.
- เริ่มแข่งขันกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ห้อง 214และ 212 เวลา 13.00 น.
*หมายเหตุ ผู้เข้าแข่งขันทุกโรงเรียนต้องเตรียม“กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง และปลั๊กพ่วง” มาเองเท่านั้น* เพื่อใช้ในการแข่งขันการแก้ปัญหาภาคบ่าย
กิจกรรมการแข่งขัน science show ทั้งระดับ ม.1-3 และ ม.4-6
- โรงเรียนที่ทำการแข่งขันลงทะเบียน ณ จุดลงทะเบียน(โดมรวมใจรัชดา) เวลา08.00น-08.45น
- เวลา08.45น-09.00น จับสลากทำการแข่งขัน (ม.1-3 และ ม.4-6)
- เวลา09.00น เริ่มทำการแข่งขัน กิจกรรม science show
- ระดับ ม.1-3 เริ่มทำการแข่งขัน 09.00น-12.00น
- ระดับ ม.4-6 เริ่มทำการแข่งขัน 13.00น-16.30น (กำหนดการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมของคณะกรรมการ)
- กำหนดให้มีผู้ช่วยประกอบการแสดง1คน เท่านั้น (ควบคุมระบบเสียง)
- รายงานการแสดงต่อคณะกรรมการในวันรายงานตัวเข้าแข่งขัน จำนวน7ชุด
วัสดุอุปกรณ์ทางโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก จัดเตรียมให้
- ไมค์ลอย3ตัว (แบบถือ)
- โต๊ะขนาด60*120 cm จำนวน2ตัว
- อุปกรณ์ทำความสะอาด
- เก้าอี้ท่านผู้ชม
- ปลั๊กไฟ 2 จุด
กิจกรรมการแข่งขันอัจฉริยะภาพทางคณิตศาสตร์ทั้งระดับ ม.1-3 และ ม.4-6
1.ให้โรงเรียนที่ส่งนักเรียนเข้าร่วมทำการแข่งขันจัดทำข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก ( 1 - 4) ให้ครอบคลุมเนื้อเรื่องทุกเรื่องตลอดหลักสูตร ม.ต้น (สำหรับอัจฉริยะภาพ ม.1-3) และ ม.ปลาย (สำหรับอัจฉริยะภาพ ม.4-6) เรื่องละ 1 ข้อ รวมอย่างน้อย 15 ข้อ
2.ให้จัดส่งข้อสอบในรูปแบบเอกสาร บรรจุใส่ซองให้เรียบร้อย พร้อมระบุชื่อโรงเรียน และข้อสอบในรูปแบบไฟล์ word ที่พร้อมแชร์ผ่าน app.line หรือ massager บริเวณหน้าห้องจัดการแข่งขัน ตั้งแต่เวลา 7.00 - 8.00 น หากเกินเวลา ขออนุญาตไม่รับเพิ่มเติม
กิจกรรมการแข่งขันต่อสมการคณิตศาสตร์ (เอแม็ท) ทั้งระดับ ม.๑-๓ และ ม.๔-๖
๑.ให้ทุกโรงเรียนที่สมัครเข้าแข่งขันนำนาฬิกาจับเวลามาด้วย หากไม่มีให้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น A-Math Clock , Scrabble Clock หรือ Chess Clock บนสมาร์ทโฟนใช้แทนได้
๒.ให้ทุกโรงเรียนที่สมัครเข้าแข่งขันทำการลงทะเบียนเวลา ๐๗.๓๐ น. ถึง ๐๘.๐๐ น.
๓.เริ่มการแข่งขันในเกมที่ ๑ เวลา ๐๘.๓๐ น. เป็นต้นไป
อัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
1. ข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ให้โรงเรียนที่ส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขัน ออกข้อสอบปรนัย 4 ดังนี้
- เนื้อหาทั่วไปในสาขา วิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และ โลกดาราศาสตร์ สาขาวิชาละ 1 ข้อ พร้อมเฉลย
2. ความสามารถทางด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่บูรณาการกับสาระวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนละ 1 ข้อ พร้อมเฉลยและในเฉลยให้อธิบายเหตุผลด้วย
โดยใช้ตัวเลือกเป็น
ก ข
ค ง
ตัวอักษรเป็น TH Sarabun New ขนาด 16 ไม่ต้องใส่ตัวเลขหน้าข้อสอบ
3. ข้อสอบสำหรับตอบปัญหาสด ให้แต่ละโรงเรียนที่ร่วมแข่งขันออกข้อสอบในการตอบปัญหาสดเนื้อหาทั่วไปในสาขา วิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และ โลกดาราศาสตร์ สาขาวิชาละ 1 ข้อ เป็นปรนัยแบบ 4 ตัวเลือก โดยในแต่ละเนื้อหาให้โรงเรียนทำก๊อปปี้มากกว่า 18 ก๊อปปี้ (เนื่องจากมีจำนวนทีมที่เข้าร่วมแข่งขันจำนวน 18 ทีม) และใส่ซองขาวให้เรียบร้อยพร้อมเฉลย และในเฉลยให้อธิบายเหตุผลด้วย
โดยใช้ตัวเลือกเป็น
ก ข
ค ง
ตัวอักษรเป็น TH Sarabun New ขนาด 18 ดังตัวอย่าง ใน 1 แผ่นกระดาษขนาดเอ 4 แบ่งเป็น 3 ข้อ หรือพิจารณาตามความเหมาะสมไม่ควรเล็กเกินไป
ทีมที่.................................. โรงเรียน...............................................................
คำถาม
4. การนำส่งข้อสอบให้นำส่งไม่เกิน 07.00 น. ที่ห้อง 221 อาคาร 2 โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก
5. กิจกรรมแข่งขันกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์
- เวลาที่ใช้ในการแข่งขันแต่ละแลป 50 นาที
- สาขาวิชาชีววิทยา เรื่องการลำเลียงสารผ่านเซลล์ โรงเรียนสามารถเตรียมกล้องจุลทรรศน์มาเองได้ หากโรงเรียนใดไม่สะดวกทางผู้จัดการแข่งขันมีกล้องจุลทรรศน์ให้ใช้แข่งขัน
- สาขาวิชาฟิสิกส์ เรื่องการหาค่า G
- สาขาเคมี เรื่องการไทเทรตกรด-เบส
กิจกรรมการแข่งขัน การพูดภาษาอังกฤษ Impromptu Speech ระดับ ม.1-3
ให้ใช้เกณฑ์ 3หัวเรื่อง
1.Education
2.Enviroment
3.Technology
โดยทางผู้แข่งขันต้องนำ3 หัวเรื่องนี้มาบูรณาการความคิดชื่อเรื่องของตัวเองตามกฎและเกณฑ์การแข่งขันทุกประการ
การแข่งขันตอบปัญหาสุขศึกษา ม.ต้น และ ม.ปลาย
แจ้งโรงเรียนที่ส่งทีมเข้าแข่งขันตอบปัญหาสุขศึกษา ส่งข้อสอบ ตามแนวปฏิบัติในการส่งข้อสอบตอบปัญหาสุขศึกษาและพลศึกษา ม.ต้น และ ม.ปลาย ครับ (รายละเอียดอยู่ในเอกสารครับ) ==> เอกสารแนบ
กิจกรรมการประกวดแปรรูปอาหาร และ การประกวดโครงงานอาชีพ
ให้โรงเรียนที่เข้าแข่งขันส่งเอกสารเล่มรายงานในวันแข่งขัน(ไม่ต้องส่งเอกสารล่วงหน้า) และไม่ต้องส่งแผ่นซีดี
กิจกรรมการแข่งขัน ต่อศัพท์ภาษาอังกฤษ (ครอสเวิร์ด)
ให้ทุกโรงเรียนที่สมัครเข้าแข่งขันนำกระดานและเบี้ยคำศัพท์มาด้วยนะครับ
การประกวดมารยาทไทยระดับชั้น ม.๔-๖
รายละเอียดการแข่งขัน
๑)ท่าบังคับ
๑.๑)กราบเบญจางคประดิษฐ์
๑.๒)ถวายความเคารพแบบโบราณราชประเพณี
๒)ท่าเลือกสำหรับระดับชั้น ม.๔-๖ ประกวดท่าเลือกโดย การจับฉลากสถานการณ์ที่คณะกรรมการกำหนดให้
๓)ผู้เข้าประกวดจะต้องมาประกวดพร้อมกันทั้งชายหญิงและแต่งกายชุดนักเรียนเท่านั้น
๔)ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
การประกวดล่านิทานคุณธรรม ระดับชั้น ม.๑-๓ และ ม.๔-๖
เครื่องเสียงทางโรงเรียนใดใช้ให้เตรียมมาเอง
การประกวดภาพยนต์สั้น ระดับชั้น ม.๑-๓ และ ม.๔-๖
ส่งออนไลน์ GoogleForm ==> https://forms.gle/2tPC2YsJym3HF4h87
ส่งผลงานภายในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. ทุกโรงเรียนต้องส่งก่อนวันและเวลาที่กำหนด
กิจกรรม Impromptu speech ระดับ ม.4 - 6
แจ้งหัวข้อ Impromptu speech ระดับ ม.4 - 6 ที่ใช้ในการแข่งขัน
*Topic 1 : Environment :* How important is the environment to me / why?
*Topic 2 : Education :* How important is education for my career / why?
*Topic 3 Science and technology :* How does social media affect younr life / why?